พระพุทธมหาชนก วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ
 

คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ผู้จัดการออนไลน์

วัดปทุมคงคา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อวัด "สำเพ็ง" ตามชื่อถนนที่วัดตั้งอยู่ คือถนนสำเพ็ง ต่อมาในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดปทุมคงคา"

ปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ถนนทรงวาดติดต่อกับถนนสำเพ็ง เลขที่ 1620 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ

วัดปทุมคงคา เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตและอุปจารวัดกว้างขวาง ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเห็นว่า เมืองธนบุรี ซึ่งอยู่ในฝั่งตะวันตกนั้นคับแคบ ป้องกันศัตรูได้ยาก อีกทั้งพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานนั้นก็ขยายไม่ได้ เพราะตั้งอยู่ในเขตวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ส่วนในฝั่งตะวันออกนั้น (ฝั่งพระ นคร) เป็นชัยภูมิดีกว่า โดยเป็นที่แหลม มีลำแม่น้ำเป็นขอบเขตกว่าครึ่ง

ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้นข้าศึกยกมาติดชานพระนคร ก็พอจะสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าฝั่งตะวันตก เสียแต่ว่า เป็นที่ลุ่มอยู่บ้าง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตนพันธ์) กับพระวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปกะที่สร้างพระ นครใหม่ ณ ฝั่งตะวันออก

และที่ซึ่งสร้างพระราชวังใหม่และเสาหลักเมืองนั้น เป็นที่ของพระยาราชาเศรษฐีกับพวกคนจีนได้อาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกคนจีน ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองวัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา)

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกคนจีน ย้ายมาตั้งเคหสถานกันใหม่นั้น ก็เห็นว่า วัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา) นี้ มีอยู่แล้ว เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาและเป็นวัดที่ชำรุดทรุดโทรมมาก

สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาท จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ทั้งวัด

ต่อมาตลอดสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่ได้ซ่อม แซมหรือปฏิสังขรณ์ใดๆ อีกเลย เพราะเพิ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 1

จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 วัดปทุมคงคา เริ่มชำรุดทรุดโทรมอีกครั้งหนึ่ง พระยาสวัสดิวารีได้กราบทูลขอบูรณปฏิสังขรณ์ พระ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้พระยาสวัสดิวารีบูรณปฏิสังขรณ์ได้ แต่เมื่อบูรณปฏิสัง ขรณ์ยังไม่ทันเสร็จ พระยาสวัสดิวารีก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน หาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดรับบูรณปฏิสัง ขรณ์ต่อไปอีกไม่ คงปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมอยู่ตลอดสมัยรัชกาลที่ 3

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิศาลศุภผล บูรณปฏิสังขรณ์ต่อ ขณะที่ได้บูรณปฏิสังขรณ์ อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว มีพระราชดำริว่า

"วัดนี้เป็นวัดของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาท สร้างอุทิศถวายสมเด็จพระบรมไปยิกาธิราชเจ้า" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรม เพิ่มเติมอีก และให้ช่างยกพระพุทธรูปในพระอุโบสถให้สูงขึ้น แล้วทำเป็นพระทรงเครื่องต้นอย่างกษัตริย์ แล้วต่อชุกชีออกมา ทำเป็นรูปเทวราชถือพุ่มฉัตรดอกไม้ทอง ดอกไม้เงินด้วย 2 องค์

พระพุทธรูปองค์นี้ คือ "พระพุทธมหาชนก" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ขัดสมาธิราบ วัสดุโลหะลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2.2 เมตร ส่วนสูงถึงยอดพระเกตุมาลา 3 เมตร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2514 วัดปทุมคงคา ได้ทำเรื่องขอพระราชทานพระนาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า "พระพุทธมหาชนก"

ปัจจุบัน พระพุทธมหาชนก ประดิษ ฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ

.......

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต(คลิ๊ก)
https://bit.ly/2P0sbzR

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก



หน้าแรก กระฉ่อนพระเครื่อง
รวมรุ่นองค์พ่อจตุคามรามเทพ
รวมข้อมูลพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ
รวมข้อมูลพระเกจิอาจารย์ ทั่วไทย
พุทธศิลป์ในประเทศไทย
ข่าว องค์พ่อจตุคาม
ข่าวสารพระเครื่อง
ซื้อ-ขายจตุคามรามเทพ
ซื้อ-ขายพระเครื่อง
ซื้อขายลูกปัด-หินทิเบต-ของเก่า
ถาม-ตอบเกี่ยวพระเครื่อง
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพิมพ์
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพระเครื่อง
Email
Password
 


สมัครสมาชิก | ลืมระหัสผ่าน

ตะกรุดสาริกาของู พระอาจารย์ป้อม
watnongmuang.com
  พระยอดนิยม


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | พระเครื่อง | เพื่อน MSN | ฝากรูปฟรี | ทีวีออนไลน์ | เกมส์ | เทคโนโลยี | หนังใหม่ | คลิปวิดีโอ | เพศศึกษา | กะฉ่อนพาเที่ยว | กะฉ่อนพากิน | นางแบบ | มือถือ | ไดอารี | พิตตี้ | ทีมงานกะฉ่อน.คอม