พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่
 

คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ผู้จัดการออนไลน์

'พระเจ้าแข้งคม' เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว สูง 112 นิ้ว น้ำหนัก 3,960 กิโลกรัม ศิลปะสมัยล้านนา มีลักษณะพิเศษคือ พระชงฆ์เป็นสันขึ้น จึงเรียกว่า "แข้งคม"

หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงพระเจ้าแข้งคม หรือพระป่าตาลน้อยว่า มีพุทธลักษณะแบบลวปุระ และขนานนามว่า "พระกัมโพชปฏิมา" มีประวัติว่า พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 10 (พุทธศักราช 1985-2031) พระนามบาลีว่า พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิ พิกลราชาธิราช ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ได้กล่าวถึงประวัติว่า

"ปีเถาะ จุลศักราช 849 (พุทธศักราช 2027) วันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 จันทร์เสวย สตภิสฤกษ์ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิกลราชาธิราช ทรงมอบภาระให้สีหคตเสนาบดี และอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ทองหนักประมาณสามสิบสามแสน ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่"

"ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริก ธาตุประมาณ 500 องค์ กับพระพุทธรูปแก้ว ทอง และเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์ มาบรรจุไว้ในพระเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่"

พุทธลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้าง นักโบราณคดีปัจจุบันกล่าวว่า มีศิลปะสมัยอู่ทองผสม พระชงฆ์เป็นแนวสัน จึงเรียกว่าพระแข้งคม


มีความแตกต่างจากแบบแผนของศิลปะล้านนาที่มีมาแต่เดิมอย่างเห็นได้ชัด คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกัน 2 เส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน

ลักษณะดังกล่าวนี้สามารถ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ที่มีอิทธิพลของศิลปะเขมรแบบบายน

สำหรับ 'วัดศรีเกิด' หรือ วัดพิชาราม เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ขนย้ายมาจากวัดร้างนอกเมือง

พระพุทธรูปองค์นี้มีนานตั้งแต่แรกสร้างว่า พระป่าตาลน้อย แต่เนื่องจากองค์พระมีลักษณะเด่น คือ พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) เป็นสันคมเห็นได้ชัด ผู้คนจึงพากันเรียกขานตามสำเนียงพื้นเมือง ว่า พระเจ้าแค่งคมหรือพระเจ้าแข่งคม หรือพระเจ้าแข้งคมแทน

พระเจ้าแข้งคม หล่อขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช โดยใช้ทองสำริดหนัก 33 แสน (หรือเท่ากับ 3,960 กิโลกรัม) ทำการหล่อ ณ วัดตาลวันมหาวิหาร (วัดป่าตาล) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ปัจจุบัน คือ บริเวณหลังโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ) นอกเมือง โดยพระเจ้าติโลกราชมีพระประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปแบบลวปุระ เมื่อหล่อเสร็จทรงบรรจุพระธาตุ 500 องค์แล้วขนานนามว่า พระป่าตาลน้อยประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าตาลมาเป็นเวลาถึง 316 ปี

อย่างไรก็ดี พระเจ้าแข้งคมที่เห็นในปัจจุบัน นักวิชาการศิลปะมีความเห็นว่ามีพุทธศิลปะเป็นแบบสุโขทัยผสมล้านนามากกว่าแบบลพบุรี

ในปี พ.ศ.2342 วัดป่าตาลได้กลายเป็นวัดร้างชำรุดทรุดโทรมเป็นที่น่าเศร้าใจ เจ้าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น คือ พระเจ้ากาวิละ จึงให้เชิญพระป่าตาลน้อยมายังวัดศรีเกิดโดยสร้างวิหารขึ้นประดิษฐานสืบมาจนปัจจุบัน

ทุกปีในเทศกาลสงกรานต์จะมีการสรงน้ำพระธาตุหน้าพระวิหาร ในวันที่ 15 เมษายน และจะมีการสรงน้ำพระเจ้าแข้งคมด้วย

.......

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต(คลิ๊ก)
https://bit.ly/2P0sbzR

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก



หน้าแรก กระฉ่อนพระเครื่อง
รวมรุ่นองค์พ่อจตุคามรามเทพ
รวมข้อมูลพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ
รวมข้อมูลพระเกจิอาจารย์ ทั่วไทย
พุทธศิลป์ในประเทศไทย
ข่าว องค์พ่อจตุคาม
ข่าวสารพระเครื่อง
ซื้อ-ขายจตุคามรามเทพ
ซื้อ-ขายพระเครื่อง
ซื้อขายลูกปัด-หินทิเบต-ของเก่า
ถาม-ตอบเกี่ยวพระเครื่อง
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพิมพ์
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพระเครื่อง
Email
Password
 


สมัครสมาชิก | ลืมระหัสผ่าน

ตะกรุดสาริกาของู พระอาจารย์ป้อม
watnongmuang.com
  พระยอดนิยม


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | พระเครื่อง | เพื่อน MSN | ฝากรูปฟรี | ทีวีออนไลน์ | เกมส์ | เทคโนโลยี | หนังใหม่ | คลิปวิดีโอ | เพศศึกษา | กะฉ่อนพาเที่ยว | กะฉ่อนพากิน | นางแบบ | มือถือ | ไดอารี | พิตตี้ | ทีมงานกะฉ่อน.คอม