พระนั่งศักดิ์สิทธิ์ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
 

คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ



"วัดสามพระยา" เขตพระนครกรุง เทพฯ พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เพราะเป็นสถานที่จัดสอบบาลีสนามหลวง รวมทั้งใช้เป็นที่ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ตั้งแต่ประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค

เป็นพระอารามเก่าแก่ต้นกรุงรัตนโก สินทร์ เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดบางขุนพรหม" ซึ่ง "หลวงวิสุทธิโยธมาตย์" (ตรุษ) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และทั้งสร้างกุศลผลบุญอุทิศให้แก่น้องชายคนเล็ก คือ "ขุนพรหม" (สารท) ภายหลังจากที่ "ขุนพรหม" ถึงแก่กรรมลงสักประมาณ 2 ปี

หลวงวิสุทธิโยธมาตย์ได้ยกที่ดินและบ้านทั้งหมดของขุนพรหมที่อยู่เหนือปากคลองบางลำพูถวายเป็นที่สร้างวัด (ทั้งนี้เนื่องจากขุนพรหมไม่มีทายาท) และให้ชื่อวัดว่า "วัดบางขุนพรหม" และชื่อชุมชนแต่เดิมที่เรียกว่า "บ้านลาน" จึงกลายเป็น "บ้านบางขุนพรหม" นับแต่นั้นมา

ทั้งนี้ วัดสามพระยา มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อนั่ง และ หลวงพ่อนอน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านเชื่อว่าด้วยบารมีและอภินิหารของหลวงพ่อนั่ง และหลวงพ่อนอน ช่วยทำให้พื้นที่แถวนั้นรอดพ้นจากการโดนทิ้งระเบิด

อีกครั้งในปี พ.ศ.2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน กองทัพอากาศ สั่งทิ้งระเบิดเรือรบหลวงศรีอยุธยาที่ลอยลำอยู่หน้าวัด แต่พลาดเป้า ระเบิดที่เลยมาตกรอบบริเวณใกล้เคียงวัด ไม่ระเบิดเลยสักลูกเดียว

ทั้งนี้ การปกครองอารามวัดสามพระยาที่เป็นมาด้วยดี ล้วนมาจากคุณูปการของ "พระพรหมดิลก" ที่ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ทําให้มีความเจริญรุดหน้า มีผลงานเป็นที่ประจักษ์โดดเด่นทั้งในด้านการบริหารและด้านวิชาการ สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร งดงามด้วยการครองตน เปี่ยมไปด้วยเมตตา เป็นที่ยอมรับและเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชน

ปัจจุบัน พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม) สิริอายุ 63 พรรษา 43 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ, รองเลขานุการแม่ กองบาลีสนามหลวง, เจ้าคณะภาค 14 และกรรมการมหาเถรสมาคม

สำหรับหลวงพ่อพระนั่ง เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยกŒ อันศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดสามพระยา แขวงบางขุนพรหม เขตพระ นคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระพุทธรูปปางนี้ มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ หย่อนพระบาททั้งสองทอดลงมาเหยียบบนพื้น พระพาหาทั้งสองประคองบาตร ซึ่งจะแตกต่างกับพระพุทธรูปปางป่าเลไลยกŒที่สร้างกันโดยทั่วไป เพราะฉะนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หลวงพ่ออุ้มบาตร" บ้างก็มี

ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้ คือ ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับ ณ วัดโฆสิตาราม ในนครโกสัมพี

วันหนึ่งมีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับพระวินัย ทรงตักเตือนแล้วก็ไม่ฟัง จึงทรงหลีกเร้นจากเหตุวุ่นวายนั้นไปประทับที่ป่ารักขิตวันในละแวกบ้านปาริเลยยกะ ได้มีลิงและช้างชื่อว่าปาริเลยยกะคอยปรนนิบัติ

พระพรหมดิลก กล่าวว่า "พระพุทธรูปปางป่าเลไลยกŒ เป็นพระประจำวันของคนที่เกิดวันพุธกลางคืน เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ มีคติความเชื่อว่า หากใครได้ไปกราบไหว้ขอพรให้มีเงินมีทองใช้ มีกินมีใช้ไปตลอด"

เป็นสิริมงคลสำหรับผู้ที่เข้ามากราบไหว้นมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดสามพระยาโดยแท้

.......

ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com/353522

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก



หน้าแรก กระฉ่อนพระเครื่อง
รวมรุ่นองค์พ่อจตุคามรามเทพ
รวมข้อมูลพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ
รวมข้อมูลพระเกจิอาจารย์ ทั่วไทย
พุทธศิลป์ในประเทศไทย
ข่าว องค์พ่อจตุคาม
ข่าวสารพระเครื่อง
ซื้อ-ขายจตุคามรามเทพ
ซื้อ-ขายพระเครื่อง
ซื้อขายลูกปัด-หินทิเบต-ของเก่า
ถาม-ตอบเกี่ยวพระเครื่อง
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพิมพ์
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพระเครื่อง
Email
Password
 


สมัครสมาชิก | ลืมระหัสผ่าน

ตะกรุดสาริกาของู พระอาจารย์ป้อม
watnongmuang.com
  พระยอดนิยม


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | พระเครื่อง | เพื่อน MSN | ฝากรูปฟรี | ทีวีออนไลน์ | เกมส์ | เทคโนโลยี | หนังใหม่ | คลิปวิดีโอ | เพศศึกษา | กะฉ่อนพาเที่ยว | กะฉ่อนพากิน | นางแบบ | มือถือ | ไดอารี | พิตตี้ | ทีมงานกะฉ่อน.คอม