รูปแบบที่เหมาะสม

คลิกที่นี่เพื่อดูหัวข้อนี้ในรูปแบบดั้งเดิม

เว็บบอร์ด กะฉ่อนพระเครื่อง _ ถาม-ตอบ ปัญหาพระเครื่อง _ มาแล้ว ตำนิพระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง อย่างระเอียด

โพสต์โดย: lokapa Jul 9 2007, 06:59 PM

วัดนางพญาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จ.พิษณุโลก ริมแม่น้ำน่าน บนถนนพุทธบูชา อยู่ระหว่างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกันวัดราชบูรณะ ใกล้สะพานที่จะไปสุโขทัย ส่วนพระนางพญาเป็นพระที่พบครั้งแรกในราวปลายสมัยรัชกาลที่ 5 จากองค์พระเจดีย์ด้านตะวันออก ต่อมาราว พ.ศ.2470 เจดีย์นี้ได้พังลง ท่านอดีตเจ้าอาวาสในยุคนั้นคือพระอธิการถนอมได้ให้ชาวบ้านและพระเณรช่วยกันเอาดินและ
เศษอิฐเศษปูนจากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ สถานที่นี้อีกหลายปีต่อมาก็กลายเป็นดงกล้วย เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงครามเข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วยและได้ทำการขุดหลุมหลบภัยจึงพบพระพญาก
ระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน พระนางพญามีอยู่ 6 พิมพ์คือ 1. พิมพ์เข่าโค้ง 2. พิมพ์เข่าตรง 3. พิมพ์อกนูนใหญ่ 4. พิมพ์ทรงเทวดา 5. พิมพ์สังฆาฏิ และ 6. พิมพ์อกนูนเล็ในช่วงปี 2495-2496 พระนางพญาเข่าโค้งและเข่าตรงมีราคาเช่าหาตกองค์ละ 50 บาท ส่วนพระพิมพ์ย่อมลงมา อย่างพิมพ์สังฆาฏิหรือพิมพ์อกนูนเล็กราคาเช่าหา 20-30 บาท
พระนางพญามีหลายสี อาทิ สีแดง, สีแดงอมเหลือง, สีน้ำตาล, สีเขียวคราบแดง, สีดำ และสีเทา เรียกว่า สีสวาท

พระนางพญาที่สวยกริ๊บ ๆ ผิวสมบูรณ์มีจุดการดูอย่างหนึ่ง ในพระสีผิวที่เรียกว่าพระ "แร่ลอย" ก็มีจุดการดูอีกอย่างหนึ่ง วันนี้ผมได้นำพระนางพญาที่เป็น "แร่ลอย" มาให้ทัศนากัน




http://www.kachon.com

โพสต์โดย: lokapa Jul 9 2007, 07:10 PM

"แร่ลอย" หมายถึงพระที่มีเม็ดกรวดเม็ดทรายลอยเหนือผิวเนื้อพระ พระนางพญาที่พบมีเป็นจำนวนมากที่เป็นพระ "แร่ลอย" เกิดจากพระจมอยู่ในดินในที่ลุ่มเป็นเวลานาน บางปีน้ำก็ท่วมมาก ทำให้พระต้องเสียหายหนักขึ้นไปอีก เมื่อพระได้รับการอาราธนาขึ้นคอเนื้อพระที่ค่อนข้างจะอ่อนอยู่แล้วถูกสัมผัสมากขึ้นท
ำให้ผิวเนื้อแท้ ๆ หลุดรุ่ยไปก่อน ส่วนแร่ที่เป็นเม็ดกรวดขนาดเขื่องมีความแข็งแกร่งกว่าก็จะสึกหร๋อได้ช้ากว่า จึงทำให้เห็นเม็ดแร่ลอยตัวอยู่เหนือผิว

http://www.kachon.com

1 แร่ลอย ที่มีขนาดเล็ก ที่เกาะกับเนื้อดินที่มีความระเอียด ดูเป็นธรรมชาติ

2 แขนที่หักเข้า จะไม่เป็นรอยเหลี่ยม จะเป็น รูปโค้งดูเป็นธรรมชาติ

3 ปลายแขนจะเลย ลำตัว เลยเพียงนิดเดียว

โพสต์โดย: lokapa Jul 9 2007, 07:26 PM

ก่อนจะดูแร่ในพระนางพญา "แร่ลอย" ก็ต้องดูจุดอื่นก่อนครับ

1. ดูเส้นสายองคาพายพต่าง ๆ บนองค์พระ เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนต่ำจะต้องคงลักษณะแบบพิมพ์ไว้ได้ชัดเจน คือผิวตอนบนจะเสียไปก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนต่ำสุดอันเป็นตอของพิมพ์จะต้องอยู่และไม่ "ตึง" เพื่อให้รูแน่นอนว่าพิมพ์ถูกต้อง และเป็นของแท้แน่นอนไม่ใช่ "พระแกะ"!! ข้อนี้สำคัญครับเพราะป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจาก "พระแกะ" ความจริง "พระแกะ" แทบไม่พบในพระนางพญาเลย แต่พบมากในพระเมืองกำแพงเพชรเคยได้ยินมั้ยครับ "ซุ้มแกะ"!! เป็นพระ "ซุ้มกอ" นี่แหละ พวกช่างแกะ "มือผี" เอาอิฐเก่าหรือพระเก่ามาแกะแล้วทำให้สึกเลือน โดยผ่านการใช้ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ให้เด็กถือเข้าตลาดพระพร้อมกับ "นิยาย" สมบัติเจ้าคุณปู่ !! ขนาดเซียนส่องถึงกับร้อง…จุ๊…จุ๊…จุ๊…หูย!! เนื่อเก่าแจ๋วแหววเสียแต่ใช้สึกไปหน่อย!! เอาเท่าไหร่หนู??!!….เสร็จ!!….เซียนมาเจอ "ซุ้มแกะ" เข้าก็ลอกคราบกลายเป็น "แพะ" ทันที!! เนี่ยฮะบางทีเขาถึงว่า "เก๊" ไม่กลัว กลัว "แกะ"!! ไงล่ะ

http://www.kachon.com

1 ว้าวเข้าเล็กน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ และ โค้งมนอย่างเป็นธรรมชาติ

2 เส้นขาฐาน มีการเว้นช่องว่างขนานเป็นเส้นขนาน อย่างพอดีและสวยงาม

3 มีเส้นฐานลากจากหัวเข่ามาชนข้อแขน ของพระนางพญา

โพสต์โดย: lokapa Jul 9 2007, 07:38 PM

2 . พระนางพญาเป็นพระที่เข้าว่านก็มี ไม่เข้าว่านก็มี ถ้าเป็นพระเข้าว่านก็ใส่ไม่มากเหมือนอย่างพระเมืองกำแพงฯ หรือผงสุพรรณ ดังนั้น ถ้าพระนางพญามีความหนึกนุ่มอยู่บ้างก็จะไม่ซึ้งจัดจ้านเท่ากับพระสองเมืองดังกล่าวกร
ะนั้นพระนางพญาที่เข้าว่านก็สามารถเห็นความหนึกนุ่มได้ ส่วนพระที่ไม่เข้าว่านก็จะเห็นความแกร่งกว่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามจุดที่สำคัญที่สุด คือ เนื้อพระต้องแห้งสนิทและเป็นธรรมชาติ

http://www.kachon.com

1 ใบหน้าพระ วงกลมเหมือนรูปไข่

2 พระนางพญามี "หู" เอิ๊กๆๆๆ

3 ลำคอของพระนางพญาข้างขาวจะสั้น หัว-ลำตัว

4 ลำคอด้านซ้ายจะยาวลากผ่านลำตัว ฉะลูดไปถึงอก ขาว

5 อกพระจะนูน และ ว๊าวเหมือนรังใส่ไข่ -*-

แงมๆๆ

โพสต์โดย: lokapa Jul 9 2007, 07:52 PM

3. มาถึงแร่ ซึ่งเป็นเม็ดกรวดขนาดเขื่องโรยตัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เม็ดแร่นี้เป็นการจงใจของโบราณท่านที่ผสมเข้าไปเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อพ
ระ แร่ในพระนางพญามีสามแบบคือ หนึ่งสีขาวใสหรือโปร่งแสง สองสีขาวขุ่นแบบน้ำนม และสามสีแดงอมน้ำตาลเข้มซึ่งเป็นหินลูกรัง ในพระเสียผิวเม็ดแร่จะลอยโผล่ผิวเนื้อพระ และขอบเม็ดแร่ต้องไม่คมเด็ดขาด เพราะสมมติฐานที่ว่าพระนางพญาจมอยู่ในดินมานานและผ่านการสัมผัสจับต้องมามาก ถ้าขอบคมเมื่อไหร่ก็เก๊ลูกเดียวเมื่อนั้น !!
นี่แหละฮะ วิทยายุทธ "หมัดเมา" ของพระนางพญา "แร่ลอย" พระผิวไม่สวยคนส่วนใหญ่มักจะเมิน แต่นักเล่น "มือโปร" รู้ว่าพระแบบนี้ซื้อง่าย ขายคล่องไม่เบา อีกทั้งซื้อเข้าไม่แพง!! แต่ขายทำกำไรได้ "แพง" !! จึงเป็นพระที่น่าสนใจน่าศึกษามากทีเดียว….วันนี้เรามาฝึกวิทยายุทธ "หมัดเมา" เพื่อเป็นมือโปรก็เข้าทีและครึ้มดีนะครับ….ขอทุกท่านโชคดีมีเงินใช้ไร้โรคา ฉบับหน้าพบกันที่นี่ เหมียนเดิมคร๊าบบบ!!!!

http://www.kachon.com


พระแท้ จะดูงามเป็นธรรมชาติ
สวย อย่างศิลปะของบรรชนรุ่นเก่า
ทิ้งไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เชยชม


ขอบคุณทุกท่านที่มาชม บอท ของ ปอ งับ

โพสต์โดย: Witwatarun Jul 10 2007, 12:02 PM

ขออนุญาติ ย้ายกระทู้นี้ไปที่ ถามตอบพระเครื่องนะครับ จะได้เป็นความรู้

กับเพื่อนๆ สมาชิกทั่วไป ได้เรียนรู้ไปด้วย ขอบคุณครับ

โพสต์โดย: พอไปวัด Jul 13 2007, 02:21 PM

เนื้อคู่ ถึงอยู่แสนไกลคงไม่คลาดแคล้ว หุหุ!

โพสต์โดย: Karic Aug 4 2007, 03:30 AM

ขอบคุณที่ให้ความรู้อันมีค่านี้ครับ

โพสต์โดย: lokapa Aug 7 2007, 01:02 PM

ขอบคุณทุกกระทู้นะครับ

ผมถ่ายรูปใหม่ให้แล้วนะครับ องค์เดิมชมกันเต็มๆ

http://www.kachon.com

http://www.kachon.com

http://www.kachon.com

โพสต์โดย: lokapa Aug 7 2007, 01:04 PM

เอาพระ ลีลา มาประชัญด้วย

โพสต์โดย: lokapa Aug 7 2007, 01:05 PM

http://www.kachon.com

Powered by Invision Power Board (http://www.invisionboard.com)
© Invision Power Services (http://www.invisionpower.com)