กฤษฎีกาตัดเนื้อหาสถาบันศาสนา ออกจากร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ



นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยถึงการร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่คณะสงฆ์เสนอให้ทบทวน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา และ 4 ศาสนาที่กฎหมายรองรับ ได้แก่ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ ว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0901/1889 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 ส่งถึงคณะกรรมการมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งว่า ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งผลการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 17/2550 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ซึ่งที่ประชุมได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ในส่วนของสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติที่สามารถกำหนดบทบาทของสถาบันทา
งศาสนาได้ โดยเห็นว่าสถาบันทางศาสนาถือเป็นสถาบันหลักของชาติ จึงสมควรกำหนดให้สถาบันศาสนามีบทบาทตามวิธีการของแต่ละศาสนา จะเป็นการเหมาะสมกว่า บัดนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขอชี้แจงว่า บทบัญญัติว่าด้วยสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติที่กำหนดให้มีเรื่องบทบา
ทของสถาบันทางศาสนาเป็นบทบัญญัติที่ปรากฏว่าในร่างเดิมที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและคว
ามมั่นคงของมนุษย์ได้เสนอก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) และมีมติให้ตัดเรื่องบทบาทของสถาบันศาสนาที่ปรากฏในสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยคุณธร
รมแห่งชาติออก

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เห็นว่าเรื่องสถาบันทางศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของแต่ละศาสนา ดังนั้น เนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจึงมิได้กำหนดเกี่ยวข้องกับบทบาทของสถาบันศาสนาแต่
อย่างใด และในชั้นนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รายงานเรื่องที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้มีมติให้ตัดเรื่องบทบาทของสถาบันศาสนาที่ปรากฏในสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยคุณธร
รมแห่งชาติ ต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อทราบแล้ว รวมทั้งจะได้ดำเนินการติดตามขั้นตอนการดำเนินการร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติต
่อไป