ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )


watnongmuang.com

FAN PAGE!!

 
Reply to this topicStart new topic
> ตำนานการสร้างเม็ดประคำ, ถือว่า “ลูกประคำ” เป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิต
Witwatarun
โพสต์ Jun 25 2011, 10:54 PM
โพสต์ #1


Advanced Member
***

กลุ่ม : Root Admin
โพสต์ : 1,203
เป็นสมาชิกเมื่อ : 29-June 07
หมายเลขสมาชิก : 3





ตำนานการสร้างเม็ดประคำ

ประคำ เมตตา แคล้วคลาด คุ้มครองป้องกันภัย

“ลูกประคำ” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า ลูกกลม ๆ ที่ร้อยด้วยเชือกเป็นสิ่งสำหรับชักเป็นคะแนนในเวลานั่งบริกรรมภาวนา แต่ทว่า “ลูกประคำ” ตามความหมายและความรู้สึกของนักนิยมสะสมพระเครื่อง -เครื่องรางของขลังนั้นจะมีความหมายที่นอกเหนือไปจากคำจำกัดความ ดังกล่าวแล้ว นั่นก็คือ “ลูกประคำ” ยังเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งที่นิยมพกพา หรือคล้องคอ เพื่อขอพุทธานุภาพในการคุ้มครองป้องกันภัย

สำหรับในด้านศาสนา ถือกันว่าเป็นเครื่องยังจิตใจ ให้เข้าสู่ภาวนาสมธิ เพื่อฝึกจิตตานุภาพให้แข็งแรง อดทนต่อการก่อกวนแห่งกิเลสทั้งปวง ที่มีให้พ้นไป ในทางพระเวทย์ ถือว่า “ลูกประคำ” เป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิตหรือร่ายพระเวทย์วิทยาคมทั้งหลาย ให้เกิดพลังอำนาจขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และในด้านวิชายุทธโบราณของจีนหรือกำลังภายในนั่นเอง ซึ่ง “ลูกประคำเหล็ก” ของหลวงจีนวัดเส้าหลินเอามาเป็นเครื่องป้องกันตัวจากคมอาวุธได้ และยังใช้ในการสวดภาวนารวมไปกับบักเต้า (เครื่องเคาะจังหวะ) ได้อีกด้วย


ผู้อ่านคงจะเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า พระกิ่งธิเบต และพระกิ่งนอก มักจะสร้างพระไภสัชยะ คุรุมีประคำรอบพระศอไว้ด้วย ส่วนพระกิ่งของไทยเราได้ดัดแปลงเม็ดประคำให้เป็นริ้วจีวรเป็นเส้นลวดเกลี้ยงแทนเพราะ
ประคำเป็นคตินิยม มหายาน และพราหมณ์ จะสังเกตเห็นพระบรมศาสดานั้น ไม่ทรงชักและใช้ประคำ เหตุเพราะพระองค์ทรงสำเร็จและหยั่งรู้เหนือกว่าการภาวนาชักประคำมากมายนัก

“ลูกประคำ” นั้นแพร่หลายมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาในตำรับวัดป่าแก้ว ของสมเด็จพระนพรัตน์นั้นระบุว่า “ได้มีการสร้างประคำดาบปราบหงสาวดี ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อทรงออกศึกกู้ชาติในยามที่ทรงสิ้นพระชนม์ชีพ
ณ เมืองหาง ก็ทรงมีประคำคล้องติดพระศอ อยู่อย่างแนบแน่น เพราะทรงนับถือสมเด็จพระนพรัตน์เป็นอาจารย์องค์สำคัญ”


“ลูกประคำ” มีมาตรฐานกำหนดเม็ดประคำ นับจากลูกปลายล่างสุดจนจรดปมที่ผูกมัดร้อยด้วยประคำรวมกันได้ 108 เม็ด จำนวน 108 เม็ดนี้ถือว่าเป็นเลขมงคลทั้งพุทธ และพราหมณ์ไปจนถึงอาถรรพณ์เวทย์ พระอรหันต์ 108 รูป สวดสาธยายพระคาถา 108 จบ ว่า 108 ชนิด ถ้าพูดถึงอะไรก็ตามที่ลงด้วย 108 แล้วจะขลังดีขึ้นอีกเป็นทวีคูณ

“ลูกประคำ” นั้นตามตำรับโบราณจะต้องใช้ว่านมงคล 108 มาบดผสมกับเครื่องยาจินดามณีเสียครั้งหนึ่งก่อน จึงจะโยงยึดด้วยรักหรือปูนนั้น และจึงเจาะรูตรงกลาง ด้วยการเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองมาลงอักขระม้วนเป็นตะกรุด เสียบเข้าไปเป็นแกนกลางสำหรับร้อยเชือกส่วนเชือกนั้นต้องใช้ไหมเจ็ดสีมาควั่นเป็นเชื
อกร้อยตรงปลายสุด ปั่นให้ฟูและถักเป็นพู่ให้สวยงามแต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผงใบลาน เผาคลุกรัก และวัสดุอื่นจนในปัจจุบันนี้กลายเป็นประคำชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้จันทน์ ทั้งพลาสติก และลูกประคำสำเร็จรูป


ยังมีประคำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กเรียกกันว่า “ประคองแขน” คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง พอที่จะสวมข้อมือ แล้วรูดขึ้นไปไว้บนต้นแขนคล้ายกับเชือกคาด และประคำมือ คือมีขนาดเล็กสวมที่มือไม่ได้ แต่เอาสวมไว้กับตัวนิ้วโป้ง ใช้สำหรับนักดาบ ท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยไปนมัสการ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จะสังเกตเห็นว่าท่านมีอยู่พวงหนึ่ง และติดมือของท่านอยู่เสมอใช้นั่งทำภาวนาของท่านและยังมีของ สำนักวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุข นั่นเองที่ขึ้นชื่อลือชามากเพราะมีข้าราชการขอให้ท่านสร้างให้อย่างมากมายถือได้ว่าเ
ป็นเครื่องรางที่สร้างยากและมีอานุภาพมาก

ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัสดุที่ใช้ทำ ดังนี้

1. กะลามะพร้าวตาเดียว กลึงเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง
2. งาช้าง (งากำจัด) กลึงเป็นรูปกลม เจาะรูตรงกลาง
3. เขี้ยวหมู เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมูตัน และเขี้ยวจระเข้ นำมากลึกเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง


เมื่อนำสรรพสิ่งที่ว่ามารวมกันแล้วท่านว่ามีศิริอานุภาพของประคำใช้ป้องกัน เขี้ยวงาศาตราวุธ และป้องกันการกระทำคุณไสยใช้ภาวนาเป็นคาถาแคล้วคลาด และนำติดตัวเป็นเสน่ห์ ส่วนการร้อยเรียงจะมีกะลาเป็นส่วนใหญ่ คั่นด้วยงาเขี้ยวจนครบ 108 เม็ด จะคั่นเหมือนกันทุกพวง และได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องของขลังเป็นอย่างยิ่งจนทุกวันนี้ ส่วนราคาเป็นหลักหมื่นขึ้นไป ของเทียมก็มีแต่งา และความแห้งของกะลาไม่มี ต้องพิจารณาหน่อย และที่ปลายพวงส่วนใหญ่จะเป็นงากลึง

คาถาอาราธนาไม่มีเฉพาะเจาะจง แต่อาจจะใช้แบบรวม คือ ตั้งนะโม 3 จบ และระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ก่อนจะนำติดตัวให้ว่า สาธุพุทธยัง อาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง อุกาสะ อาราธนานัง อิมังกายะพันธะนัง อธิษฐาน มิ”


--------------------
อีกหนึ่งบริการใหม่ของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ในหมวดพระเครื่อง

เพื่อให้เกิดความสดวกสบายสำหรับท่านสมาชิกผู้ใช้บริการของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม จึงได้เปิดให้บริการใหม่ใน 4 หมวดคือ

1.วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com

.....
2.ข่าววงการพระเครื่อง(คลิ๊ก)
https://publish.kachon.com

.....
3.ประวัติพระเกจิอาจารย์(คลิ๊ก)
https://monkhistory.kachon.com

.....
4.ประวัติวัดและพระพุทธรูป(คลิ๊ก)
https://historyoftemples.kachon.com


เป็น 4 หมวดที่เกี่ยวกับพระเครื่องโดยตรงในเว็ปกะฉ่อนดอทคอม ท่านสมาชิกสามารถใช้บริการของเราได้ในเว็ปเดียวโดยไปต้องย้อนกลับไปยังเว็ป https://pra.kachon.com อีกต่อไป ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกจะได้รับความสดวกสบายและพอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้ความสดวกสบายและ
พอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้
Go to the top of the page
 
+Quote Post

Reply to this topicStart new topic
มี 1 คน กำลังอ่านหัวข้อนี้ (บุลคลทั่วไป 1 คน และ 0 สมาชิกที่ไม่เปิดเผยตัว)
สมาชิก 0 คน คือ :

 




Lo-Fi Version ขณะนี้เวลา : 17th June 2024 - 08:36 PM