ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )


watnongmuang.com

FAN PAGE!!

 
Reply to this topicStart new topic
> ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467, การจะสร้างเหรียญพระพุทธขึ้นมาสักรุ่นหนึ่ง ทำไมทางวัดจะไม่สร้างให้ตรงตา
Witwatarun
โพสต์ Sep 26 2013, 05:13 AM
โพสต์ #1


Advanced Member
***

กลุ่ม : Root Admin
โพสต์ : 1,203
เป็นสมาชิกเมื่อ : 29-June 07
หมายเลขสมาชิก : 3





เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467


ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467

ก่อนอื่นทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอยืนยันในความบริสุทธิใจ ในการที่จะขอนำเสนอบทความเรื่อง"ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467" ที่ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องจะนำเสนอกับท่านผู้อ่านบทความในครั้งนี้เสียก่อนว่า พวกเรามิได้มีเจตนาจะโจมตีกล่าวว่าร้ายใครใดๆทั้งสิ้น แต่เนื่องด้วยพวกผมส่วนใหญ่ในทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องเป็นคนวัดอรุณ เติบโตที่วัดอรุณ ศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณเป็นที่สุด จึงได้เกิดความสงสัยและได้ปรึกษากันว่าพวกเราควรออกหาความจริงกันให้ประจักษ์ดีไม๊ เพื่อให้ประวัติต่างๆถูกต้องตามความเป็นจริง จะได้เป็นประโยชน์กับอนุชนรุ่นหลังที่ต้องการจะศึกษาและเก็บสะสมเหรียญรุ่นนี้ต่อไป



ภาพด้านหลังเหรียญ พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467


ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้เข้าไปที่วัดอรุณ เพื่อขอสัมภาษณ์พระเถระจารย์ผู้ใหญ่เก่าๆในวัดอรุณ ทั้งยังได้ติดตามสอบถามจากคนเก่าคนแก่แถบวัดอรุณ ก็ไม่ปรากฎวว่าจะมีท่านผู้ใดรู้ถึงประวัติการสร้าง เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 เลยสักท่านเดียว ซึ่งพวกเราก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่า ทางวัดอรุณได้มีการจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นมาจริงหรือไม่ แต่ด้วยอักษรที่ระบุอยู่ในหลังเหรียญว่า พระพุทธนฤมิตร พวกเราก็คงจะปฏิเสธว่าเหรียญรุ่นนี้ ทางวัดอรุณมิได้สร้างคงไม่ได้



ด้านหน้า เหรียญพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ปี 2510 ที่ระบุว่า พระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ไว้อย่างชัดเจน


แต่ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องอยากจะขอฝากแง่คิดกับท่านผู้อ่านไว้สักนิดว่า โดยธรรมชาติทั่วไปของการจะสร้างเหรียญพระพุทธรูปประจำวัด ขึ้นมาสักรุ่นสักครั้งหนึ่งนั้น ทำไมทางวัดอรุณถึงไม่สร้างเหรียญพระพุทธรูปประจำวัดของตน ให้ตรงกับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปประจำวัดของท่านเลยหรือ พระพุทธนฤมิตรของวัดอรุณนั้น พระพุทธลักษณะของท่านเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร จัดสร้างและถวายโดยพระมหากษัตริย์ และวัดอรุณก็เป็นวัดหลวงที่มีประวัตความเป็นมาที่แน่นอน มีการจดบันทึกความเป็นมาของวัดและอดีตเจ้าอาวาสไว้อย่างชัดเจน แต่ในพุทธลักษณะของเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ที่วงการนักสะสมพระเครื่องกำลังเล่นหา และคิดว่าเป็นเหรียญที่สร้างโดย พระพิมลธรรม(นาค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10



ด้านหลัง เหรียญพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ปี 2510 ด้านหลังเหรียญเป็นรูป พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2


นั้นทำไมกลับเป็นเหรียญรูปพระพุทธนั่งขัดสมาธิเสียเล่า ท่านผู้อ่านรู้สึกว่ามันจะขัดๆกันเกินไปหรือไม่ ในบทความนี้ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้นำเอาภาพ พระพุทธนฤมิตรที่ทางวัดอรุณได้จัดสร้างขี้น 2 รุ่น มาให้ท่านผู้อ่านได้ดูเปรียบเทียบว่า ถ้าทางวัดอรุณจะสร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณขึ้นมาจริงๆนั้น ทางวัดอรุณจะสร้างออกมาแบบไหน แล้วเพราะด้วยเหตุผลใด เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ทางวัดจึงต้องสร้างให้ไม่ตรงกับพุทธลักษณะของพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณท่านด้วย มีเหตุผลอะไรจึงต้องทำแบบนั้น ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอฝากเป็นแง่คิดไว้สำหรับท่านผู้อ่านที่กำลังศึกษาเล่นหาเหรี
ยญรุ่นนี้ไว้นะครับ




ด้านหน้า พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ


แต่ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงอย่างแน่นอน ที่พวกเราทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องอยากนำเสนอเพื่อชำระให้ถูกต้องนั้นก็คือ เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 มิได้สร้างโดย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐ อย่างแน่นอน เพราะในประวัติของวัดอรุณได้ระบุถึง วัน เดือน ปี ของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ ที่จะมารับตำแหน่งรวมถึงวันมรณะภาพของท่านไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐



ใต้ฐาน พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ที่ระบุว่า พระพุทธนฤมิต ไว้อย่างจัดเจน


ท่านมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอรุณนั้นก็คือ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ปีฉลู ซึ่งท่านหลวงปู่นาคท่านมารับตำแหน่งหลังจากมีการสร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ที่กล่าวอ้างกันนี้ถึง 1 ปี แล้วเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 จะเป็นท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณจัดสร้างขึ้นได้อย่างไร และในประวัติการสร้างวัตถุมงคลของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้ค้นคว้าสืบหามานานก็ไม่เคยมีใครระบุไว้ว่า ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐ ท่านได้เคยจัดสร้างวัตถุมงคลที่เป็นเหรียญไว้แต่อย่างใดเลย



ด้านหลัง พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ เป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณ


หากบทความนี้ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ท่านใด ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องต้องขอภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้อีกครั้ง แต่เพราะพวกเราทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องเป็นชาววัดอรุณ ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ของวัดอรุณได้คลาดเคลื่อนไป ท่านผู้อ่านทั้งหลายก็ลองอ่านวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ที่ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่อง ได้นำเสนอเช่น พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณหรือจะเป็นเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2510 และยังประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ที่ทีมงานได้นำมาเสนอเป็นตัวอย่างคือ ประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10 ข้างล่างนี้ดูนะครับ และในโอกาสนี้ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่อง จึงขออนุญาตท่านผู้อ่านขอนำเสนอ ประวัติความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม แก่ท่านผู้อ่านด้วยเลยนะครับ เพื่อเป็นเกียติประวัติแด่ องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม เผื่อวันหน้าท่านผู้อ่านได้มีโอกาศมาที่วัดอรุณ จะได้เข้าไปกราบนมัสการขอพรจากท่าน องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากครับ ขอท่านผู้อ่านจงมีความสุขสมหวังทุกๆท่านครับ



หลวงปู่นาค วัดอรุณถ่ายรูปครั้งอายุ 27ปี ตอนรับพัดยศเจ้าคุณครั้งสมัยอยู่วัดสุทัศน์ กทม.ที่ตำแหน่งพระศรีสมโพธิ พ.ศ. 2442 (ภาพจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก)


ประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10

พระพิมลธรรม นามเดิม นาค นามฉายา สุมนนาโค เป็นชาวปทุมธานี เกิดเมื่อปีวอก วันศุกร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนยี่ จ.ศ. ๑๒๓๔ (พ.ศ. ๒๔๑๕) ในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาอยู่กับพระครูธรรมมานุสารี (หว่าง) วัดเทียนถวาย จนอายุครบอุปสมบท จึงได้ย้ายมาอยู่กับสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ อุปสมบทเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค และได้เข้าแปลอีก ๒ ครั้ง รวมได้เป็น ๗ ประโยค ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ทรงตั้งให้เป็น พระศรีสมโพธิ




หลวงปู่นาค วัดอรุณ ถ่ายภาพเมื่อครั้งรับพระราชทานพัดยศ พระราชาคณะชั้นธรรมที่นินนาม พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์ พ.ศ. 2476 ถ่ายที่คณะ 1 วัดอรุณ(ภาพจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก)


ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีมะเมีย วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ทรงเลื่อนให้เป็น พระราชเวที และเมื่อปีระกา วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงเลื่อนให้เป็น พระเทพสุธี แล้วโปรดให้มาครองวัดอรุณฯ เมื่อปีฉลู วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ ทรงเลื่อนให้เป็น พระธรรมดิล, พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนในพระปรมาภิไธย ให้เลื่อนเป็น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เลื่อนเป็น พระพิลธรรม ท่านพระพิมลธรรม(นาค) ได้มรณภาคในรัชกาลที่ ๘ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๖ เดือน



องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ


ประวัติ พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2394 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม ในฐานะพระอารามหลวงประจำรัชกาลสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ก่อสร้างตกแต่งอาคารเพิ่มเติมทั่วไปพระพุทธนฤมิตรเฉพาะ พระอุโบสถ โปรดสร้างบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระอุโบสถ เพื่อจำลองพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวาย ประดิษฐาน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ยังไม่มีพระนาม เฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ประชาชนจะขานพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า แผ่นดินต้น รัชกาลที่ 2 ว่า แผ่นดินกลางและรัชกาลของพระองค์ว่า แผ่นดินปลาย จึงทรงดำริแก้ไข โดยสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ เป็นพระมหาจักรพรรดิทรงยืน รัชกาลที่ 1 ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 2 ว่าพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดารามแต่การสร้างยังไม่แล้ว เสร็จ ค้างมาถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเร่งทำให้สำเร็จ แล้วเฉลิมฉลองในวันครองสิริราชสมบัติ เท่าสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นเวลา 15 ปี ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระพุทธรูปและสมโภชสิริราชสมบัติพร้อมกัน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธนฤมิตร" แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังด้านพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม พระพุทธนฤมิตร เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร วัสดุโลหะศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ขนาดองค์พระสูง 98 นิ้ว ฐานสูง 46 นิ้ว วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร ถือเป็นวัดไทยอีกแห่งหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของเมืองไทย ที่บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างกล่าวขวัญถึงความโดดเด่นของพระปรางค์วัดอรุณฯ ปรากฏริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันงดงามมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ ของกรุงเทพฯ ด้วย วัดไทยโบราณแห่งนี้ มีนามว่า "วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร" มีหลักฐานการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดนี้เดิมชื่อ วัดมะกอก ต่อมาเรียกว่า วัดมะกอกนอก เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอกครั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี พ.ศ.2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดแห่งนี้ตอนรุ่งแจ้งจึงโปรดเกล้าฯ ให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปสักการบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระปรางค์องค์เดิมองค์ที่เห็นในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมะกอกและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดแจ้ง" ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ.2322 ก่อนย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ.2327 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งและ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" พระองค์มีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อนจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูลในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่ พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวราราม"

ขอขอบคุณท่านเจ้าของเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ที่ทางทีมงานหามาประกอบบทความนี้ และขอขอบคุณข้อมูลดีๆเกี่ยวกับประวัติของ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม และประวัติความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตรจาก วัดอรุณราชวราราม ครับ


เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ

ข้อมูลจาก กะฉ่อนพระเครื่อง - บทความพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ


--------------------
อีกหนึ่งบริการใหม่ของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ในหมวดพระเครื่อง

เพื่อให้เกิดความสดวกสบายสำหรับท่านสมาชิกผู้ใช้บริการของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม จึงได้เปิดให้บริการใหม่ใน 4 หมวดคือ

1.วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com

.....
2.ข่าววงการพระเครื่อง(คลิ๊ก)
https://publish.kachon.com

.....
3.ประวัติพระเกจิอาจารย์(คลิ๊ก)
https://monkhistory.kachon.com

.....
4.ประวัติวัดและพระพุทธรูป(คลิ๊ก)
https://historyoftemples.kachon.com


เป็น 4 หมวดที่เกี่ยวกับพระเครื่องโดยตรงในเว็ปกะฉ่อนดอทคอม ท่านสมาชิกสามารถใช้บริการของเราได้ในเว็ปเดียวโดยไปต้องย้อนกลับไปยังเว็ป https://pra.kachon.com อีกต่อไป ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกจะได้รับความสดวกสบายและพอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้ความสดวกสบายและ
พอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้
Go to the top of the page
 
+Quote Post

Reply to this topicStart new topic
มี 1 คน กำลังอ่านหัวข้อนี้ (บุลคลทั่วไป 1 คน และ 0 สมาชิกที่ไม่เปิดเผยตัว)
สมาชิก 0 คน คือ :

 




Lo-Fi Version ขณะนี้เวลา : 5th November 2024 - 05:41 PM