ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )


watnongmuang.com

FAN PAGE!!

 
Reply to this topicStart new topic
> พระสมเด็จหลังตราแผ่นดิน เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธ เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2509, ผสมมวลสารจาก ผงจากพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพร
Witwatarun
โพสต์ Sep 28 2013, 04:59 AM
โพสต์ #1


Advanced Member
***

กลุ่ม : Root Admin
โพสต์ : 1,203
เป็นสมาชิกเมื่อ : 29-June 07
หมายเลขสมาชิก : 3





ด้านหน้า พระสมเด็จหลังตราแผ่นดิน วัดอรุณ ปี 2509


พระสมเด็จหลังตราแผ่นดิน เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธ เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2509

ในปี พ.ศ. 2509 ทางวัดอรุณโดย ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณในสมัยนั้นได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นที่ วัดอรุณราชวราราม เป็นพิธียิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น โดยทางวัดอรุณได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศจำนวน 108 รูปและตามใบฝอยของวัดในสมัยนั้นยังระบุไว้อย่างชัดเจนถึงพระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ที่ไม่ได้มาในพิธีแต่ได้ร่วมปลุกอยู่ที่วัดของท่านโดยจะส่งกระแสจิตมาร่วมปลุกเสกในพ
ิธีนี้ พระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ท่านนั้นก็คือ ท่านเจ้าคุณฯนรรัตน์ราชมานิตย์ วัดเทพศิรินทราวาส กทม




ด้านหลัง พระสมเด็จหลังตราแผ่นดิน วัดอรุณ ปี 2509


ส่วนมวลสารผสมผงศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ(ตามแจ้งในใบฝอยของทางวัด) ระบุว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระครบ 100 ปี ของพระเครื่องสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ฯ (โต ) พรหมรังษี โดยทางวัดอรุณได้ผสมมวลสารจาก ผงจากพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดเกศไชโยที่แตกหัก โดยเฉพาะผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก นั้นในใบฝอยของวัดอรุณในสมัยนั้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผสมลงในพระสมเด็จวัดอรุณรุ่นนี้อย่างเข้มข้น



ด้านหน้า เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอรุณ ปี 2509 (ใต้ฐานจะมีเลข ๑ ไทยเป็นจุดสังเกตุ)


และยังมีมวลสารวิเศษอีกมากมาย เช่น ผงธูปที่บูชาพระพุทธรูปสำคัญ..ดินจากสถานที่สำคัญต่างๆ ดินสังเวชนียสถานสี่ตำบล ว่าน ๔๐๐ กว่าชนิด เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด จุดสังเกตุของพระสมเด็จ วัดอรุณรุ่นนี้คือ ด้านหลังพระสมเด็จรุ่นนี้จะประทับตราแผ่นดิน(เล็ก) ไว้ทุกองค์ นอกจาก พระสมเด็จหลังตราแผ่นดินวัดอรุณ ที่ทางวัดได้จัดสร้างในครั้งนี้แล้ว



ด้านหลัง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอรุณ ปี 2509 (จะเหมือนกับเหรียญของปี 2506)


ทางวัดอรุณยังได้จัดสร้าง 1.เหรียญกลมเล็กเป็นรูปพระพุทธ ด้านหลังเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณระบุปีที่สร้างเป็นปี 2508 และ2.เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินหลังเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณคล้ายเหรียญปี 2506 จะแตกต่างก็คือเหรียญรุ่นนี้จะมีเลข ๑ ไทยที่ใต้ฐานทุกองค์เพื่อเป็นจุดสังเกตุเพื่อแยกระหว่างเหรียญปี 2506 กับเหรียญปี 2509 รุ่นนี้ แต่เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธจะระบุปีที่สร้างเป็นปี 2508 เพราะจัดสร้างเหรียญในปี 2508 แต่มารวมจัดพิธีปลุกเสกและออกในปี 2509 พร้อมกับพระสมเด็จวัดอรุณ รุ่นปี 2509 นี้



ด้านหน้า เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธ วัดอรุณ ปี 2509


ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมพิธีในครั้งนั้น ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคนั้นทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น 1. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 2. หลวงปู่นาค วัดระฆัง กรุงเทพฯ 3. หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ์ 4. หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี 5. หลวพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี 6. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม 8. หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน 9.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน 10.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ 11.หลวงพ่อเล็ก วัดเขาดิน 12.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน 13.หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช 14.หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม เป็นต้น จึงถือได้ว่า พระสมเด็จหลังตราแผ่นดิน(เล็ก) เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธ เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2509 เป็นวัตถุมงคลของวัดอรุณราชวรารามที่น่าใช้น่าเก็บสะสมอีกรุ่นหนึ่งครับ



ด้านหลัง เหรียญกลมเล็กรูปพระพุทธ วัดอรุณ ปี 2509


ประวัติวัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรม สมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้ตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา




รูปใบฝอยของวัดอรุณ ซึ่งหนังสือพระเอามาลงโฆษณาต่อให้ ที่ไม่แน่ใจคือราคาพระในใบนี้ว่า สมัยนั้นทางวัดจะให้เช่าบูชาในราคาตามที่ระบุไว้ในใบนี้หรือไม่


และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่ พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัด ให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อ สำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดตอบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธาราม หลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอ
าสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ข้อขอบคุณข้อมูลและประวัติวัดอรุณจาก วัดอรุณราชวราราม ครับ


เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ


--------------------
อีกหนึ่งบริการใหม่ของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ในหมวดพระเครื่อง

เพื่อให้เกิดความสดวกสบายสำหรับท่านสมาชิกผู้ใช้บริการของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม จึงได้เปิดให้บริการใหม่ใน 4 หมวดคือ

1.วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com

.....
2.ข่าววงการพระเครื่อง(คลิ๊ก)
https://publish.kachon.com

.....
3.ประวัติพระเกจิอาจารย์(คลิ๊ก)
https://monkhistory.kachon.com

.....
4.ประวัติวัดและพระพุทธรูป(คลิ๊ก)
https://historyoftemples.kachon.com


เป็น 4 หมวดที่เกี่ยวกับพระเครื่องโดยตรงในเว็ปกะฉ่อนดอทคอม ท่านสมาชิกสามารถใช้บริการของเราได้ในเว็ปเดียวโดยไปต้องย้อนกลับไปยังเว็ป https://pra.kachon.com อีกต่อไป ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกจะได้รับความสดวกสบายและพอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้ความสดวกสบายและ
พอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้
Go to the top of the page
 
+Quote Post

Reply to this topicStart new topic
มี 1 คน กำลังอ่านหัวข้อนี้ (บุลคลทั่วไป 1 คน และ 0 สมาชิกที่ไม่เปิดเผยตัว)
สมาชิก 0 คน คือ :

 




Lo-Fi Version ขณะนี้เวลา : 9th November 2024 - 08:23 AM