ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )


watnongmuang.com

FAN PAGE!!

 
Reply to this topicStart new topic
> เส้นทางก้าวย่างของ "น้องใหม่" ในวงการพระ
Witwatarun
โพสต์ Jul 6 2007, 12:25 PM
โพสต์ #1


Advanced Member
***

กลุ่ม : Root Admin
โพสต์ : 1,203
เป็นสมาชิกเมื่อ : 29-June 07
หมายเลขสมาชิก : 3



เส้นทางก้าวย่างของ "น้องใหม่" ในวงการพระ

การสะสมพระเครื่อง นับได้ว่าเป็นทั้ง "ศาสตร์" และ "ศิลป์" เป็นได้ทั้งงาน "อาชีพ" และงาน "อดิเรก"

งานอดิเรกในการสะสมพระเครื่องมีความแปลกไปกว่างานอดิเรกชนิดอื่นๆ เพราะในองค์พระมีความ "ขลัง" มีความ "ศักดิ์สิทธิ์" ที่สามารถใช้คุ้มครองป้องกันตัวได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติอย่างนี้จะไม่มีอยู่ในงานอดิเรกอื่นๆ

หากสะสมพระเครื่องเป็นงาน "อาชีพ" ก็เป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ถ้าหากสามารถดูพระได้แม่นยำ รู้จัก พระแท้ พระปลอม ได้อย่างถูกต้อง

พระแท้มีผู้ต้องการกันมาก การซื้อขายจะอยู่ที่ความพอใจ คนขายจึงมีโอกาสทำกำไรได้ตามใจชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ ไม่ถูกควบคุมราคา ไม่สามารถร้องเรียนสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ "ความพอใจ" เป็นที่ตั้ง

ถ้าหากเป็นพระออกใหม่ ที่มีการสร้างกันแทบทุกเดือน โอกาสเก็งกำไรก็มีมาก จังหวะดีๆ พระองค์องค์หนึ่งต้นทุน ๑๐๐ บาท อาจจะขายต่อได้ในราคา ๔๐๐-๕๐๐ บาท ในช่วงเวลาไม่นานนักก็ได้

ในทุกวันนี้ แวดวงการสะสมพระได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางกว่าแต่ก่อนมาก มีผู้สนใจสะสมพระเกิดขึ้นทั่วทุกวงการ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ ทำให้มีการซื้อขายกันอย่างเป็นหลักเป็นฐาน พัฒนาจากแผงแบกะดิน ขึ้นไปอยู่บนห้างสรรพสินค้าอย่างหรูหรา และมีเกียรติ น่าเชื่อถือ

การซื้อขายพระในชั่วโมงนี้ ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตไร้พรมแดน ผู้สนใจพระมีอยู่ทั่วโลก ถึงกับมีการซื้อขายข้ามประเทศ อย่างกรณีที่มีนายแพทย์หนุ่มท่านหนึ่งที่กำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ได้สั่งซื้อพระจากเมืองไทยแทบทุกเดือน โดยอาศัยอินเทอร์เน็ต รวมทั้งคนไทยอื่นๆ ที่อยู่ในต่างประเทศทั่วโลก ก็สามารถเรียนรู้เรื่องพระทางเวบไซต์ที่มีการเสนอความเคลื่อนไหวและบทความต่างๆ

ผู้ที่เป็น "น้องใหม่" จึงควรเรียนรู้ว่า จะต้องทำตัวอย่างไร จึงจะเป็นนักสะสมพระเครื่องที่ดี มีโอกาสเป็นเจ้าของพระแท้ๆ พระดีๆ กับเขาบ้าง

จุดเริ่มต้นทางหนึ่งคือ การเปิดดูหนังสือพระที่มีอยู่หลายฉบับบนแผงหนังสือ รวมทั้งหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับ ที่นำเสนอบทความพระเป็นประจำ

นอกจากนี้ ควรจะศึกษาจากหนังสือรวมภาพพระที่มีภาพสวยๆ จัดพิมพ์เป็นเล่มหนาๆ หรือหนังสือภาพพระจากงานประกวดพระ ที่ปัจจุบันนิยมพิมพ์ขึ้นสำหรับมอบเป็นรางวัลพระชนะเลิศในแต่ละรายการ

ผู้ที่ส่งพระเข้าประกวดมากๆ ได้รับหนังสือรางวัลเป็นสิบๆ ร้อยๆ เล่ม มักจะไม่ขนกลับบ้านทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเหมาขายให้กับร้านหนังสือตามงานประกวดพระ ซึ่งมีอยู่หลายเจ้า หนังสือภาพพระเหล่านี้มีราคาไม่แพง เล่มละ ๓๐๐-๔๐๐ บาทเท่านั้น

และแทบทุกเล่มจะมีภาพขยายใหญ่ ชัดเจนมาก รวมทั้งมีคำบรรยายประกอบอย่างพร้อมมูล ขอให้เปิดดูภาพพระเหล่านี้ จำให้แม่น ทั้งชื่อของพระ พิมพ์ กรุหรือเมืองต้นกำเนิดของพระพิมพ์นั้นๆ รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ

การจำภาพพระ จำชื่อได้ถูกต้อง ทำให้เกิดความรู้ขึ้นในระดับหนึ่ง ดีกว่าไปเที่ยวเช่าพระโดยสะเปะสะปะโดยไม่รู้อะไรเลย เพราะโอกาสที่จะได้ พระแท้ นั้นมีแสนจะยากยิ่ง

เมื่อจำพิมพ์ทรงองค์พระและชื่อได้แล้ว ขั้นต่อไปควรจะหาโอกาสเข้าสนามพระให้บ่อยๆ ดูพระตามแผงต่างๆ เพื่อจะได้รู้ ได้เห็นว่า พระองค์จริง มีรูปร่างหน้าตาและขนาดเป็นอย่างไร?

ถ้าหากมีงานประกวดพระที่ไหน ควรจะเดินทางไปร่วมงานด้วยเสมอ เพราะในงานประกวดพระนอกจากมีแผงพระที่เปิดขายกันอย่าง เอิกเกริกแล้ว ในงานประกวดพระจะมี พระแท้ พระสวย ที่ติดรางวัล วางโชว์ให้ชมอีกด้วย โดยเขาจะนำพระชนะการประกวดรางวัลที่ ๑-๒-๓-๔ มาวางให้ชมในตู้โชว์

การได้เห็นพระแท้ พระสวย เหล่านี้ จะทำให้มีความรู้ในเรื่องพระพิมพ์นั้นๆ มากยิ่งขึ้น

อย่างเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ และวันอาทิตย์ที่ ๘ ก.พ.ที่ผ่านมา ในงานประกวดพระของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ที่สวนอัมพร มีพระของนักสะสมใหญ่ๆ มากมายหลายท่าน ได้นำพระองค์จริงมาวางโชว์ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด มีผู้เข้าแถวชมกันอย่างเนืองแน่นตลอดเวลา นับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่นานๆ ถึงจะมีสักครั้ง ใครพลาดโอกาสนี้ก็น่าเสียดายจริงๆ

สนามพระเครื่อง หรือชมรมพระเครื่องต่างๆ ที่เปิดอยู่แทบทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ควรจะหาโอกาสไปชมพระในตู้ของเขาให้บ่อยๆ ไปฟังเขาพูดคุยกันเรื่องพระให้สม่ำเสมอ ไม่ช้าไม่นานก็จะสามารถเรียนรู้ได้ว่า แผงพระไหน เล่นพระแนวใด มีความเชี่ยวชาญพระสายไหน รู้จริงหรือไม่ และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ?

สังคมวงการพระก็เหมือนสังคมวงการอื่นๆ คือจะมีทั้ง คนดี และ คนเลว ปะปนกันไป ถ้าหากคบหากันไปนานๆ ก็จะสามารถรู้ได้ไม่ยากนัก

หลายคนอาจจะขยาดคนในวงการพระ โดยตั้งข้อรังเกียจว่า วงการนี้มีแต่ เสือ สิงห์ กระทิง แรด ก็ขอได้โปรดเข้าใจเสียใหม่ อย่าได้เหมารวมไปหมด เพราะคนในวงการพระที่ดีๆ ก็มีมากเหมือนกัน คนเหล่านี้แหละที่ได้ช่วยกันจรรโลงวงการพระให้มีเกียรติและเชื่อถือได้มาจนถึงทุกวัน
นี้

คนเลวๆ ก็อาจจะมีหลงอยู่บ้าง แต่ในทุกวันนี้กำลังจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เพราะวิบากกรรมที่ได้ทำความชั่วไว้ ได้คร่าชีวิตไปทีละคนสองคน

เมื่อ "น้องใหม่" รู้แล้ว "คนดี" มีใครบ้าง นั่นแหละคือ "แหล่งความรู้" ที่ควรจะนำตัวของเราเองเข้าไปทำความรู้จักกับเขา ด้วยจิตคารวะ ให้ความเคารพนับถือยกย่องเขาด้วยความจริงใจ อย่าทำตัวเป็นคนอวดรู้อวดเก่งโดยเด็ดขาด ควรสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะใครเห็นเขาก็รักและให้ความเมตตาเสมอ

"เซียนพระ" บางคนอาจจะไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านอื่น หรือไม่ได้เรียนหนังสือมามากนัก แต่ความสามารถด้านดูพระจะมีความชำนาญมาก มีความจำแม่นยำเป็นพิเศษ บางคนมี "พรสวรรค์" ด้านนี้จริงๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคน เมื่อเข้าสนามพระยังต้องเรียก "เซียนพระ" เหล่านี้ว่า "อาจารย์" ก็มี

"น้องใหม่" เมื่อได้รับความรู้จาก "เซียนพระ" ผู้ใจดีแล้ว ก็ควรจะแสดงน้ำใจบ้าง เช่นมีของไปฝากเป็นบางครั้งบางคราว และเมื่อมีความสนใจอยากได้พระองค์ใดองค์หนึ่ง ก็ควรจะเช่าพระจาก "อาจารย์" ท่านบ้าง ไม่ใช่ไปเช่าพระจากคนอื่นแล้วเอามาให้ "อาจารย์" ดูบ่อยๆ โดยไม่ยอมเช่าพระจาก "อาจารย์" เลย ทั้งๆ ที่ท่านก็มีพระพิมพ์นั้นเหมือนกัน

การเช่าพระจาก "อาจารย์" ในบางครั้งอาจจะแพงกว่าที่อื่น ก็ต้องยอมทำใจบ้าง

การแสดงน้ำใจเอื้ออาทรกันอย่างนี้ ไมตรีจิตมิตรภาพย่อมจะยืนยงคงมั่นไปนานแสนนาน โอกาสที่ "น้องใหม่" จะได้ พระดี พระแท้ ก็มีมากด้วย

แล้ววันหนึ่ง "น้องใหม่" อาจจะก้าวขึ้นเป็น "เซียนพระ" ผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้



--------------------
อีกหนึ่งบริการใหม่ของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ในหมวดพระเครื่อง

เพื่อให้เกิดความสดวกสบายสำหรับท่านสมาชิกผู้ใช้บริการของเรา หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม จึงได้เปิดให้บริการใหม่ใน 4 หมวดคือ

1.วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com

.....
2.ข่าววงการพระเครื่อง(คลิ๊ก)
https://publish.kachon.com

.....
3.ประวัติพระเกจิอาจารย์(คลิ๊ก)
https://monkhistory.kachon.com

.....
4.ประวัติวัดและพระพุทธรูป(คลิ๊ก)
https://historyoftemples.kachon.com


เป็น 4 หมวดที่เกี่ยวกับพระเครื่องโดยตรงในเว็ปกะฉ่อนดอทคอม ท่านสมาชิกสามารถใช้บริการของเราได้ในเว็ปเดียวโดยไปต้องย้อนกลับไปยังเว็ป https://pra.kachon.com อีกต่อไป ทีมงานหนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกจะได้รับความสดวกสบายและพอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้ความสดวกสบายและ
พอใจในบริการใหม่ของเราในครั้งนี้
Go to the top of the page
 
+Quote Post

Reply to this topicStart new topic
มี 1 คน กำลังอ่านหัวข้อนี้ (บุลคลทั่วไป 1 คน และ 0 สมาชิกที่ไม่เปิดเผยตัว)
สมาชิก 0 คน คือ :

 




Lo-Fi Version ขณะนี้เวลา : 27th April 2024 - 08:19 PM