พระเจ้าแสนคำเมือง วัดปันเสา จ.เชียงใหม่
 

คอลัมน์เดิน สายไหว้พระพุทธ
วิชัย ทาเปรียว

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ผู้จัดการออนไลน์

"พระพัฒนนพบุรีศรีล้านนาประชา นาถ" หรือ "พระเจ้าแสงคำเมือง" พระพุทธรูปประธานในวิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีวิชัยมงคล ภายในวัดปันเสาเฉลิมพระเกียรติฯ ดูแลโดยมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ ถ.บุญเรืองฤทธิ์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระเจ้าแสงคำเมือง เป็นพระพุทธรูป สร้างขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์

พ.ศ.2550 ได้เริ่มสร้างพระเจ้าแสนคำเมือง ไว้ในวิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีวิชัยมงคล (ยังสร้างไม่เสร็จ) โดยพระมหาอาวรณ์ ภูริปัญโญ ประธานคณะสงฆ์ ผู้ดูแลศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเสา

หลังจากสร้างองค์พระเสร็จเรียบร้อย ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระเจ้าแสงคำเมือง เข้าเมืองเชียงใหม่ทางประตูช้างเผือก

หลังจากนั้น ประชาชนได้พากันมากราบไหว้ พระเจ้าแสงคำเมือง ด้วยเชื่อว่าจะดลบันดาลให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

สำหรับวัดปันเสา ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวัดแสนตาห้อย (ด้านหลังคณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์มังราย มีร่องรอยโบราณคดีที่เห็นได้จากภายนอก คือ เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ประกอบด้วยฐานเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมประมาณสามชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลมประมาณ 3 ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน 3 ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ที่บังลังก์เป็นสี่เหลี่ยมยอกเป็นปล้องไฉนแบบสุโขทัย

พ.ศ.2528 ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียง ใหม่ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดี เบื้องต้นพบว่า เจดีย์วัดนี้มีการสร้างซ้อนกัน 2 ชุด เจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านในมีสัณฐานประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จ และถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมย่อเก็จและฐานบัวคว่ำบัวหงายแปดเหลี่ยม ตามลำดับ ลักษณะด้านแปลนส่วนล่างคล้ายเจดีย์อิทธิพลพุกาม ส่วนลักษณะแปดเหลี่ยมอิทธิพลหริภุญชัย ส่วนที่เป็นย่อเก็จหายไป มีพัฒนาการเป็นรูปแบบทรงแปดเหลี่ยมอิทธิพลทวารวดี (เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมเวียงท่ากาน และที่วัดกุมกามบริเวณเวียงกุมกาม)

ส่วนเจดีย์ที่สร้างครองภายหลัง สัณฐานล่างสุดเป็นเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10.10 เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อเก็จ หน้ากระดานฐานเขียงทรงกลมซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไป 3 ชั้น และชั้นมาลัยเถาแบบดั้งเดิมพื้นเมืองเชียงใหม่ คือ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นลูกแก้วคาด 2 เส้นแบบฐานบัวผสม ซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์สัณฐานบัวสี่เหลี่ยมจัตุรัส

นักโบราณคดี ประมาณว่าระยะเวลาที่ก่อสร้างเจดีย์ทั้งสององค์ที่ซ้อนกันทับกันในวัดนี้ ควรอยู่ในระยะแรกของราชวงศ์มังราย ประ มาณรัชกาลพญาผายู (พ.ศ.1879-1898) และพญากือนา (พ.ศ.1898-1928) หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก

ชื่อของวัดแห่งนี้ยังมีปัญหาเรื่องชื่อ พันเส่า มาจากข้อสัณนิษฐานว่า "พัน" คือจำนวน 1 พัน "เส่า" หมายถึง เตาหลอมที่ใช้หล่อพระพุทธรูปซึ่งเชื่อกันว่าวัดนี้เป็นสถานที่หล่อ "พระเจ้าเก้าตื้อ" เมื่อ พ.ศ.2048

ชื่อวัดพันเส่า จึงหมายถึง เตาหลอมจำนวนนับพัน ภาษาเขียน "พ" ภาษาอ่านจึงออกเสียง "ป" จึงเป็น "ปันเส่า"

หรือชื่อว่า "พันเสา" ในความหมายว่า วัดที่มีวิหารขนาดใหญ่มีเสานับพัน ซึ่งจากการขุดหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปลายปี พ.ศ.2552 พบว่า วิหารของวัดแห่งนี้มีขนาดใหญ่ประมาณเท่าวิหารหลวงวัดพระสิงห์ แต่เสาวิหารคงไม่มากถึงพันเสา

สำนักงานมาลาเรียเขต 2 เคยเช่าพื้นที่วัดและกลายเป็นที่ราชพัสดุ พื้นที่ของเทศบาลนครเชียงใหม่บางส่วน ต่อมา พ.ศ.2550 ศูนย์มาลาเรีย เขต 2 เชียงใหม่ ได้บอกคืนพื้นที่ของวัดให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่

มูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้ฟื้นฟูให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป และสร้างเป็นสถานที่สำหรับรองรับพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ตึกสงฆ์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

.......

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต(คลิ๊ก)
https://bit.ly/2P0sbzR

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก



หน้าแรก กระฉ่อนพระเครื่อง
รวมรุ่นองค์พ่อจตุคามรามเทพ
รวมข้อมูลพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ
รวมข้อมูลพระเกจิอาจารย์ ทั่วไทย
พุทธศิลป์ในประเทศไทย
ข่าว องค์พ่อจตุคาม
ข่าวสารพระเครื่อง
ซื้อ-ขายจตุคามรามเทพ
ซื้อ-ขายพระเครื่อง
ซื้อขายลูกปัด-หินทิเบต-ของเก่า
ถาม-ตอบเกี่ยวพระเครื่อง
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพิมพ์
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพระเครื่อง
Email
Password
 


สมัครสมาชิก | ลืมระหัสผ่าน

ตะกรุดสาริกาของู พระอาจารย์ป้อม
watnongmuang.com
  พระยอดนิยม


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | พระเครื่อง | เพื่อน MSN | ฝากรูปฟรี | ทีวีออนไลน์ | เกมส์ | เทคโนโลยี | หนังใหม่ | คลิปวิดีโอ | เพศศึกษา | กะฉ่อนพาเที่ยว | กะฉ่อนพากิน | นางแบบ | มือถือ | ไดอารี | พิตตี้ | ทีมงานกะฉ่อน.คอม