แหวนและนางกวัก พระอุปัชฌาย์อิ่ม สิริปุญโญ วัดหัวเขา
 

ข่าวดีสำหรับท่านผู้ศรัทธาในเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ

เนื่อจากมีผู้ศรัทธาในเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ เป็นจำนวนมากสอบถามมาเพื่ออยากจะได้เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณไว้บูชา ซึ่งคณะผู้จัดสร้างกำลังจะจัดงานครั้งประวัติศาสตร์อย่างยิ่งใหญ่โดยจะทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ และแจกทานข้าวสารแก่ผู้ยากไร้จำนวน 1,200 ถุง เป็นอย่างน้อย ซึ่งเราจะทำการแจกทานใหญ่ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน ในงาน 28 ธันวาวันพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2561 ณ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ปากซอยวังเดิม3 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ คณะผู้จัดงานจึงได้จัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ เนื้อตะกั่วปิดทองคำแท้ ซึ่งสร้างจากเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณเดิม

ซึ่งเป็นเหรียญที่มากด้วยประสพการณ์ เช่นรายล่าสุดช่วยชีวิตหนุ่มคาร์แคร์ให้รอดตายจากไฟดูดได้ราวปาฏิหาริย์(คลิ๊กชมรายละเอียดที่นี่) ที่พบตกค้างอยู่เพียง 500 เหรียญ มาทำการปิดหน้าพระพักตร์ของเหรียญรุ่นนี้ด้วยทองคำเปลวแท้ เพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น โดยเปิดให้ท่านผู้ศรัทธาร่วมทำบุญข้าวสารจำนวน 5 ถุง ถุงละ 5 กิโลกรัม เป็นจำนวนเงิน 500 บาท จะได้รับเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ เนื้อตะกั่วปิดทองคำแท้ 1 เหรียญ เพื่อเป็นที่ระลึก โดยท่านสามารถติดต่อร่วมทำบุญได้ที่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ปากซอยวังเดิม 3 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม 10600 หรือสอบถามรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณโก วัดอรุณ เบอร์โทร 085-363-4431 id line: 0853634431

ชมคลิปชาววัดอรุณเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินทั้งหมด คลิ๊ก
ชมภาพชาววัดอรุณเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินทั้งหมด คลิ๊ก
พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ขนาดบูชา 9 นิ้ว คลิ๊ก
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ เนื้อตะกั่วแกะลายลงยา คลิ๊ก
ชาววัดอรุณร่วมใจสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ คลิ๊ก
ชมมิวสิคอัลบั้มเพลง ตำนานรบพระเจ้าตาก คลิ๊ก

 

 

แหวนและนางกวัก พระอุปัชฌาย์อิ่ม สิริปุญโญ วัดหัวเขา

ชีวประวัติ หลวงพ่อ พระอุปัชฌาย์อิ่ม สิริปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวเขา ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่ออิ่ม สิริปุญโญ ท่านเป็นหนึ่งใน๓พระอาจารย์ใหญ่สำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งเมืองสุพรรณ ในยุคช่วงก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ (รัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่๖-๗) อันประกอบไปด้วย ๑.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา (พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายเหนือของเมืองสุพรรณ) ๒.หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว (พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกลางของเมืองสุพรรณ) ๓.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายใต้ของเมืองสุพรรณ) อิทธิฤทธิ์ กิตติคุณ ปาฏิหาริย์ในเวทย์วิทยาคมในนามของ "หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อิ่ม แห่งสำนักวัดหัวเขา" เป็นที่กล่าวขาน โจษจันกันมาช้านานตั้งแต่ครั้นสมัยท่านยังทรงสังขารอยู่ แม้จวบจนปัจจุบันท่านจะมรณะภาพไปนานแล้วกว่า๗๐ปีแล้วก็ตาม กิตติศัพท์ ชื่อเสียงในเวทย์วิทยาคมของท่านก็ยังคงอยู่ มิได้สูญหาย อันตธานหายไปจากใจของชาวเมืองสุพรรณตามกาลเวลา เรื่องราวความดีและสิ่งต่างๆที่ท่านได้ถ่ายทอดและทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ให้แก่อนุชนคนรุ่นหลัง

อย่างเราๆทั้งหลายได้เคารพสักการะ และเป็นหลักที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจอยู่เสมอ อย่างเช่น วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างขึ้นไว้ ศาสนสถาน ถาวรวัตถุต่างๆ หรือจะเป็นบุคคลากร อย่างเช่น พระภิกษุสงฆ์ พระเกจอาจารย์ต่างๆที่เป็นศิษย์ท่าน และบุคคลากรอื่นๆที่มีศักยภาพทางสังคมและหลายต่อหลายอย่างอีกมากมาย ยังคงสถิตย์อยู่คู่โลกของเรามิได้ผ่านพ้นหายไปตามเวลาเลยประวัติของหลวงพ่ออิ่ม ท่านเลือนราง มีไม่มากพอและชัดเจนนัก เนื่องจากว่าในยุคของหลวงพ่อในสมัยก่อนนั้น ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อมูลเรื่องราวของหลวงพ่ออิ่มในปัจจุบันที่ได้ศึกษากันอยู่นั้นจึงเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากบทความหรือบันทึกลายลักษณ์อักษรที่มาจากหลวงพ่ออิ่ม ผู้เป็นเจ้าของต้นเรื่อง ได้อาศัยเอาจากคำกล่าวคำบอกเล่าของลูกศิษย์ลูกหาที่ทันและทราบในเรื่องราวของหลวงพ่อ ซึ่งแน่แท้ว่าคำกล่าวคำบอกเล่าของบุคคลหลายๆคนนั้นย่อมมีความผิดพลาด ขาดตกและบกพร่องเป็นธรรมดาก่อนจะกล่าวประวัติหลวงพ่ออิ่มต่อไป ก่อนอื่นขอท้าวความถึงบันทึกประวัติวัดไก่เตี้ย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงพ่ออิ่มอย่างมาก ว่า"วัดไก่เตี้ยได้ถูกทิ้งรกร้างลง กระทั่ง พ.ศ.๒๔๒๘ จึงได้มีหลวงพ่ออิ่ม จากวัดเสาธงทองซึ่งตั้งอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำสุพรรณ(ท่าจีน)เล็งเห็นความยากลำบากและเสี่ยงอันตรายของชาวบ้านย่านวังยางที่ต้องข้ามฟากไปทำบุญถึงวัดเสาธงทองโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำเชี่ยวกลาดน่ากลัวอันตรายอย่างยิ่ง หลวงพ่ออิ่มจึงได้ชักชวนชาวบ้านย่านวังยาง ช่วยกันฟื้นฟูวัดไก่เตี้ยจากวัดร้างให้คืนสภาพเป็นที่ควรอยู่อาศัยขึ้นมา ใหม่ จวบจนต่อมาก็ได้นิมนต์หลวงพ่อแสน สุวณฺโณ (จากวัดใดไม่ปรากฎ) ให้มาอยู่ประจำขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ส่วนตัวหลวงพ่ออิ่มท่านเองต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่วัดหัวเขา นับได้ว่าวัดไก่เตี้ยได้กลับคืนสภาพเป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาต่อเนื่อง สืบสภาพมานับแต่กาลนั้นจนถึงปัจจุบัน

ชาติภูมิ
พระอุปัชฌาย์อิ่ม สิริปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวเขา ท่านมีนามเดิมว่า อิ่ม ไม่มีนามสุกล (ยุคสมัยก่อนนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้กัน) ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีจอ เดือน ๗ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตรงกับวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช ๒๔๐๖ ส่วนภูมิลำเนานั้นไม่ปรากฏ แต่มีความเป็นไปได้สันนิษฐานว่า)มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าท่านน่าจะเป็นชาว อ.ศรีประจันต์ เนื่องจากว่าท่านได้บวชเรียนอยู่วัดเสาธงทอง อ.ศรีประจันต์ ทั้งยังได้ฟื้นฟูวัดไก่เตี้ย อ.ศรีประจันต์ และในเขต อ.ศรีประจันต์นั้นก็ยังปรากฏพระเกจิอาจารย์ซึ่งได้ตามไปเป็นลูกศิษย์หลวงพ่ออิ่มอยู่หลายท่าน และยังมีสหธรรมิก(ศิษย์ร่วมสำนัก)หลวงพ่ออิ่มอยู่ในเขตพื้นที่ศรีประจันต์นี้อีกด้วย

อุปสมบท
เมื่ออายุครบเกณฑ์วัยอุปสมบทได้แล้ว ท่านจึงอุปสมบทตามประเพณีไทย เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๔๒๖-๒๔๒๘ (อันอยู่ในช่วงระหว่างนี้ ไม่เกินปี พุทธศักราช๒๕๒๘อย่างแน่นอน เพราะเป็นปีที่ตามประวัติวัดไก่เตี้ย ได้บันทึกไว้ว่าหลวงพ่ออิ่มสมัยนั้นจำพรรษาอยู่วัดเสาธงทองพร้อมด้วยญาติโยมได้เริ่มฟื้นฟูวัดไก่เตี้ยขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๒๘) ส่วนพัทธสีมาที่ทำการอุปสมบทและพระอุปัชฌาย์นั้นไม่ทราบ แต่ข้อสันนิษฐานซึ่งมีความเป็นไปได้สูง สันนิษฐาน ซึ่งใช้หลักแห่งความสมเหตุสมผลว่า หลังจากท่านอุปสมบทแล้วท่านคงจำพรรษาแรก ณ.วัดเสาธงทอง (ท่านอุปสมบทอยู่ในช่วงประมาณพ.ศ.๒๔๒๖ ถึงก่อนพ.ศ.๒๔๒๘อันเป็นปีที่ท่านได้ย้ายจากวัดเสาธงทองซึ่งจำพรรษาอยู่แต่เดิม เพื่อไปฟื้นฟูวัดไก่เตี้ย) และหากเป็นดังข้อสันนิษฐานแล้วนั้นท่านจำต้องเข้ารับการอุปสมบทจากพัทธสีมาวัดพร้าวเป็นแน่ เนื่องจากว่าในยุคนั้นวัดเสาธงทองยังไม่มีพระอุโบสถ

กุลบุตรทั้งหลายในละแวกนี้หากจะเข้ารับการอุปสมบท จำเป็นจะต้องไปใช้พัทธสีมาวัดพร้าว ซึ่งอยู่ทางใต้แม่น้ำท่าจีนลงไปจากวัดเสาธงทง เพราะว่าที่วัดพร้าวนี้มีอุโบสถและพระอุปัชฌาย์ ซึ่งนั่นก็คือ หลวงพ่อแก้ว และหากหลวงพ่ออิ่ม อุปสมบท ณ.วัดพร้าวแล้ว อุปัชฌาย์ของท่านก็ย่อมคือ หลวงพ่อแก้ว วัดพร้าว นั้นเอง "หลวงพ่ออิ่ม เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหัวเขา" หลังจากหลวงพ่ออิ่มร่วมกับชาวบ้านฟื้นฟู พัฒนาวัดไก่เตี้ยขึ้นมาใหม่และได้นิมนต์หลวงพ่อแสนมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไก่เตี้ยแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆจวบจนเวลาต่อมาจึงได้ไปปักกลดปฏิบัติธุดงค์วัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขาในปัจจุบันซึ่งแต่เดิมในยุคนั้นยังคงเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยมที่เป็นคนเก่าแก่เล่าว่าหลวงพ่ออิ่มท่านได้เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวบ้านละแวกนั้นเป็นอันมาก จึงพร้อมด้วยชาวบ้านสร้างวัดหัวเขากันขึ้นมา และชาวบ้านได้นิมนต์ท่านจำพรรษาอยู่เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหัวเขา แม้ว่าประวัติของหลวงพ่ออิ่มค่อนข้างเลือนราง แต่ก็มีเกร็ดเรื่องราวของท่านบางตอนน่าสนใจเกี่ยวกับท่านว่า


๑ .หลักฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวว่า พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงพ่อปุยได้เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม และอาจารย์มนัส โอภากุล เขียนไว้ว่า หลวงพ่ออิ่มกล่าวยกย่องหลวงพ่อปุยว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ศึกษาได้รวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก ๒. มีคำกล่าวว่าในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรีนั้น หลวงพ่ออิ่ม ท่านเป็นพระคู่สวดให้ (หลวงพ่อมุ่ย บวชครั้งแรกประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑) แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนชัดเจนว่าจริงหรือเปล่า ๓. ในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม จากหนังสืองานทำบุญอายุครบ๘๐ปีหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ที่ทางวัดดอนไร่จัดพิมพ์แจกออกมาในปีพ.ศ.๒๕๑๒ กล่าวถึงประวัติหลวงพ่อมุ่ยซึ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงหลวงพ่ออิ่มว่า หลวงพ่อมุ่ยอุปสมบทครั้งที่๒ใน ปีพ.ศ.๒๔๗๒ หลังจากอุปสมบทแล้วไปจำวัดยู่วัดหนองสะเดาประมาณ๖เดือน แล้วจึงมาอยู่วัดดอนไร่อีก๖พรรษาเศษ แล้วจึงย้ายไปจำพรรษาอยู่วัดหัวเขาในสำนักของหลวงพ่ออิ่ม ซึ่งคำนวณแล้วตรงกับประมาณ พ.ศ.๒๔๗๘ เป็นระยะเวลา๑พรรษา เพื่อเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่ออิ่ม ๔. มีคำกล่าวจากสื่อต่างๆในวงการพระเครื่องว่าหลวงพ่ออิ่มเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข ว่า เมื่อหลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาวิชาจนแตกฉานแล้วจากหลวงพ่ออิ่ม หลวงพ่ออิ่มได้เมตตาพาหลวงพ่มุ่ยไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ซึ่งชอบคอกันกับหลวงพ่ออิ่มท่าน ได้มีคำกล่าวขานจากชาวบ้านซึ่งอ้างว่าเคยถามกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากที่เดินทางพาหลวงพ่อมุ่ยมุ่งหน้าไปหาหลวงปู่ศุขหลายเดือนก่อนจะกลับมาว่า หลวงพ่ออิ่มได้อะไรกลับมาบ้าง หลวงพ่ออิ่มท่านตอบว่า ท่านแก่แล้วจึงได้มาเพียงครึ่งเล่ม แต่หลวงพ่อมุ่ยท่านหนุ่มกว่าจึงได้มาถึงเล่มครึ่ง แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนชัดเจนว่าจริงแท้แน่นอนเป็นเช่นไร่ เพราะหากดูจากช่วงเวลาในปีที่หลวงพ่อมุ่ยมาเรียนวิชา จากหลวงพ่ออิ่มนั้นอยู่ในช่วงปีพ.ศ.๒๔๗๘นั้น หลวงปู่ศุขท่านมรณภาพไปนานแล้วถึง๑๒ปี(หลวงปู่ศุขมรณะพ.ศ.๒๔๖๖)

ครูบาอาจารย์และสหธรรมิก
หลวงพ่ออิ่มท่านถือธุดงค์เป็นวัตรและพบครูบาอาจารย์ดีก็ศึกษาหาความรู้ไปเรื่อย ทั้งตำหรับตำราวิชาก็มากมี อันที่จริงหลวงพ่ออิ่มท่านเก่งได้ด้วยตัวท่านเอง เรื่องของครูบาอาจารย์ท่านนั้นไม่สามารถสืบค้นกันได้ชัดเจน แต่หากเอาจากข้อสันนิษฐานกัน ก็คือ ๑.หลวงพ่อแก้ว วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี (สันนิษฐาน) ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ขึ้นชื่อลือชาในพระเวทย์วิทยาคม แห่งสำนักตักศิลาวิทยาคมวัดพร้าว บ้านโพธิ์เจ้าพระยา เมืองสุพรรณบุรีมาก ท่านอาวุโสกว่าหลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อแก้วเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ทำการอุปสมบทให้กุลบุตรนับว่าค่อนจังหวัดได้ เพราะว่าในยุคนั้นเมืองสุพรรณบุรีมีพระอุปัชฌาย์เพียงสองสามรูปเอง หลวงพ่อแก้วท่านนับได้ว่าเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์ของหลายเกจิเมืองสุพรรณเลยทีเดียว ๒.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท (ข้อมูลยังไม่สมเหตุสมผลไม่ชัดเจน) หลวงปู่ศุขนั้นขึ้นชื่อเรืงเวทย์เป็นที่โจษจันกันอยู่แล้ว กล่าวกันว่าหลวงพ่ออิ่มท่านเป็นทั้งศิษย์และสหธรรมิกของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย

มรณภาพ
หลวงพ่ออิ่มปกครอง พัฒนาคนพัฒนาวัดเรื่อยมา จวบจนได้รับแต่งตั้งสมณศักด์สุดท้ายที่ "พระครูปลัดอิ่ม สริปุญโญ" ก่อนท่านจะมรณภาพลง ในอิริยาบทท่านั่งสมาธิ เมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี ซึ่งนับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ ๑ใน ๒รูป ของเมืองสุพรรณที่มรณภาพในท่านั่งสมาธิ ซึ่งอีกท่านนั้นก็คือหลวงพ่อเซ้ง วัดพร้าว ปัจจุบันวัดหัวเขามีประเพณีการตักบาตรเทโว คราวันออกพรรษาที่ขึ้นชื่อที่สุดของเมืองสุพรรณบุรี
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอเดิมบางนางบวช และที่วัดยังมีมณฑปที่สร้างมาตั้งแต่ครั้นสมัยหลวงพ่ออิ่ม มีรูปเหมือนหลวงพ่ออิ่มให้ประชาชนได้เคารพปิดทองสักการะบูชา

วัตถุมงคล
ด้วยบารมีอันยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อ สังเกตุได้จากวัตถุมงคลที่ท่านสร้างออกมา มีมากมายหลายชนิด ตามความต้องการของผู้เคารพรักและศรัทธาในหลวงพ่อว่ามีมากมายขนาดไหนในยุคที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อโบราณ รูปหล่อโบราณ(นางกวัก) แหวนแบบต่างๆ พระพิมพ์ดินเผา พระผงใบลาน เป็นต้น อันเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่ผู้บูชาตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนปัจจุบันว่า ประสบการณ์ยอดเยี่ยม มีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรีสุข เมตตามหานิยม ไปมาค้าขายดีมาก ส่วนเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นก็เลิศ แบบแมลงวันไม่มีวันได้กินเลือด กล่าวขานกันอย่างนี้มาช้านาน ตั้งแต่สมัยเหล่าทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกครั้งที่๑แล้ว ในการสร้างพระและวัตถุมงคลต่างๆ หลวงพ่ออิ่มท่านจะบอกบุญไปทางญาติโยม ในสมัยนั้นไม่มีการเรี่ยไรเงินโดยการกำหนดกฏเกณฑ์ตั้งราคาวัตถุมงคลให้เช่าบูชาทำบุญกันเฉกเช่นปัจจุบัน แต่ในสมัยนั้นผู้คนจะนำวัสดุพวกโลหะต่างๆมาให้หลวงพ่อทำให้ครับ กรรมวิธีการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่มนั้นส่วนใหญ่ก็สร้างกันเองทำกันเองภายในวัดครับ มีอย่างจำพวกเหรียญปั๊มก็ต้องสั่งโรงงานไปครับ นอกนั้นก็จะตั้งใจสร้าง ทำกันเองเป็นพุทธบูชาครับ การจัดสร้างของลพ.อิ่มท่านจะมีลักษณะเฉพาะคือ เวลาท่านจัดสร้างอะไร ท่านจะประกาศข่าวออกไปให้ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงทราบ ใครอยากจะร่วมบุญอะไร อย่างไร ก็นำมาร่วมสร้างได้เช่น เช่น สร้อย กำไล ขันเงิน ฯลฯ แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ เมื่อถึงเวลาก็จะนำโลหะต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาหลอมรวมกันให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยว่ากันว่าลพ.อิ่มท่านจะใช้กสิณไฟซึ่งท่านจะส่งพลังออกไปจากตัวท่านไปยัง เต้าหลอม ดังนั้นโลหะแม้ว่าจะต่างชนิดกันก็สามารถหล่อหลอมตัวเข้าหากันได้ ดังนั้นของลพ.อิ่ม จึงเป็นที่ต้องการกันมากโดยเฉพาะบรรดานักเล่นเครื่องรางรุ่นเก่า เพราะเล่นหาง่ายกว่าและราคาเช่าหาเบาๆครับ อิทธิวัตถุมงคลของ "หลวงพ่ออิ่ม" วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี มีแพร่หลายไปในวงกว้าง พระของท่านคงจะสร้างไว้น้อย ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ พระหล่อโบราณ ในวงการนักนิยมพระเครื่องรางของขลังถือว่าใครมีวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่ม นับได้ว่าเป็นผู้มีวาสนา ก็มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่ เหรียญหล่อใบเสมา ที่คุ้นหูคุ้นตาอย่างน้อย ๓ แบบ แตกต่างกันที่รายละเอียด นอกจากนี้ยังมีนางกวัก ๒ พิมพ์ หล่อแบบโบราณ อีกพิมพ์หนึ่งเป็นพิมพ์พระพุทธรูปหล่อโบราณแบบลอยองค์ก็มี พระปิดตา แบบมหาอุด หมายถึง ปิดตาและปิดทวาร พิมพ์นางกวัก มีสร้างไว้หลายแบบ พญาเต่าเรือน นอกจากนี้ก็ยังมี แหวนพิรอด หัวพระปิดตา หัวพระพุทธ มี ๒ แบบ ทั้งหมดสร้างด้วยเนื้อโลหะแบบหล่อโบราณ เกี่ยวกับเหรียญ และรูปหล่อโลหะ พอมีหลักฐานจากรูปทรงใบเสมาบ่งบอกว่าน่าจะสร้างในยุคเร็วที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงใดช่วงหนึ่ง เพราะรูปทรงใบเสมานั้นตั้งต้นสร้างรุ่นแรกของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจจะเป็นตอนกลางหรือตอนปลายในสมัยของพระองค์ หรือไม่ก็อาจจะเป็นการสร้างในสมัยหลังจากนั้น ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนหลวงพ่ออิ่มท่านมรณภาพเมื่อปี ๒๔๘๐

ในการจัดทำ ประวัติหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ในครั้งนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้กับผู้ที่มีความศรัทธาในหลวงพ่ออิ่มแห่งวัดหัวเขาได้ทราบถึงประวัติของท่านและข้อมูลการสร้างวัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและเป็นข้อมูลให้คนที่สนใจได้ศึกษาเพราะหลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่มีอภิญญาแก่กล้าและเป็นที่เคารพต่อคนในพื้นที่และผู้คนที่รู้จักต่างเสื่อมใสและศรัทธาในวัตรปฏิบัติของท่านทำนุบำรุงวัดให้เจริญและมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ชื่อของท่านก็ไม่เสื่อมคลาย ในการจัดทำประวัติหลวงพ่ออิ่มถ้ามีข้อมูลใดตรงหล่นไปบ้างก็ต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้ด้วยครับ


ขอบพระคุณข้อมูล จากร่มโพธิ์ไทร com.
และคุณทศ เดิมบาง ชมรมพระเครื่องอำเภอเดิมบางนางบวช

((สำนักข่าวกะฉ่อนดอมคอม ทีมงาน วิทย์ วัดอรุณ รายงาน))

 

.......
เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ 
http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=1801

 

 



หน้าแรก กระฉ่อนพระเครื่อง
รวมรุ่นองค์พ่อจตุคามรามเทพ
รวมข้อมูลพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ
รวมข้อมูลพระเกจิอาจารย์ ทั่วไทย
พุทธศิลป์ในประเทศไทย
ข่าว องค์พ่อจตุคาม
ข่าวสารพระเครื่อง
ซื้อ-ขายจตุคามรามเทพ
ซื้อ-ขายพระเครื่อง
ซื้อขายลูกปัด-หินทิเบต-ของเก่า
ถาม-ตอบเกี่ยวพระเครื่อง
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพิมพ์
กะฉ่อน กับ สื่อหนังสือพระเครื่อง
Email
Password
 


สมัครสมาชิก | ลืมระหัสผ่าน

ตะกรุดสาริกาของู พระอาจารย์ป้อม
watnongmuang.com
  พระยอดนิยม


หน้าแรก | เว็บบอร์ด | พระเครื่อง | เพื่อน MSN | ฝากรูปฟรี | ทีวีออนไลน์ | เกมส์ | เทคโนโลยี | หนังใหม่ | คลิปวิดีโอ | เพศศึกษา | กะฉ่อนพาเที่ยว | กะฉ่อนพากิน | นางแบบ | มือถือ | ไดอารี | พิตตี้ | ทีมงานกะฉ่อน.คอม